โรคตับอักเสบ

โรคตับอักเสบ เป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากหลายทางเช่น การติดเชื้อไวรัส รองลงมาเกิดจากพิษสุรา เชื้อแบคทีเรีย เชื้อโปรโตชัว เลปโตสไปโรลิส พยาธิบางชนิด หรือแม้กระทั่งสารเคมี ฯลฯ

ไวรัสตับอักเสบแบ่งได้ดังนี้

โรคไวรัสตับชนิด เอ เรียกว่าโรคตับอักเสบ ติดต่อ (Epidemic hepatitis )

     เกิดจากการกินเชื้อเข้าไปทางปาก เช่น อาหาร ผักสด ผลไม้ น้ำดื่ม ระยะฟักตัวของเชื้อนี้ปรมาณ 2-6สัปดาห์ โดยเฉลี่ย 4 สัปดาห์ หลังรับเชื้อ ในเด็กมักมีอาการน้อย ในผู้ใหญ่มีอาการที่ชัดเจนของตับอักเสบเฉียบพลัน เชื้อนี้ออกมากับอุจจาระของผู้ป่วย ตั้งแต่ในระยะ 2 สัปดาห์ก่อนมีอาการจนถึงระยะที่มีอาการของโรค เชื้อไวรัสนี้คงทรงอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นาน บางครั้งจึงพบมีการระบาดในชุมชนกลุ่มคนที่อยู่รวมกัน เช่น โรงเรียน หอพัก ค่ายทหาร เป็นต้น



โรคไวรัสลงตับ ชนิด บี (B)

     บางครั้งก็เรียกว่าโรคตับอักเสบน้ำเหลือง Blood serum hepatitis คนเป็นพาหะที่สำคัญของเชื้อไวรัสนี้และจะพบเชื้อได้ในเลือดและน้ำเหลือง สิ่งคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอด น้ำลาย น้ำตา น้ำนม ทำให้มีโอกาสเผยแพร่เชื้อได้หลายทาง ระยะฟักตัวของเชื้อนี้ประมาณ 30-180 วัน ร้อยละ 90 ของผู้ป่วย ตับอักเสบชนิดนี้จะหายเป็นปกติ ที่เหลือเป็นพาหะของเชื้อต่อไป พาหะของเชื้อนี้อาจไม่มีอาการแต่เเพร่เชื้อต่อไปส่วนหนึ่ง อาจป่วยเป็นตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง มะเร็งตับได้


ไวรัสตับอักเสบชนิด ซี (C)

     เป็นสาเหตุสำคัญของตับอักเสบที่เกิดขึ้นภายหลังการได้รับเลือด หรือผลิตภัณฑ์เลือดเดิมเรียกว่าไวรัสตับอักเสบชนิดไม่ใช่เอ ไม่ใช่บี การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ชนิด ซี พบในประชากรทั่วไปประมาณร้อยละ 1 ติดต่อได้โดยทางเลือดและน้ำเหลือง การใช้เข็มฉีดยาร่วมกันในกลุ่มผู้ติดยาเสพติด นอกจากนี้
อาจติดเชื้อได้ทางเพศสัมพันธุ์ ระยะฟักตัวของเชื้อนี้ประมาณ 15-160 วัน ทำให้เกิดโรคตับอักเสบเฉียบพลันและไวรัสนี้ยังทำให้เกิดโรคตับอักเสบ เรื้อรัง และเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับได้เช่นเดียวกัน


ไวรัสตับอักเสบชนิด ดี (D)

     เป็นไวรัสที่ไม่สมบูรณ์ต้องอยู่ร่วมกับไวรัสตับอักเสบ บี พบเชื้อในกลุ่มผู้ติดยาเสพติดชนิดที่ฉีดเข้าเส้น ที่มีเชื้อไวรัส บี ทางติดต่อก็เช่นเดียวกับไวรัสตับอักเสบ บี


ไวรัสตับอักเสบชนิด อี (E)

     ติดเชื้อไวรัสนี้โดยการกิน เช่นเดียวกับไวรัสตับอักเสบ เอ อาการของโรคนั้นจะมีอาการอ่อนเพลียมีไข้ ปวดศรีษะมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ตาเหลือง ตัวเหลือง มี อาการดีซ่านอีกทั้งยังพบมากกว่าการเกิดโรคตับอักเสบกับการดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ (ชนิดที่มีปริมาณแอลกอฮอล์สูง)
มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ แต่ก็ไม่พบว่าแอลกอฮอล์เข้าทำลาย เซลล์ของตับโดยตรง ตรงกันข้ามต่างพากันคิดว่าแอลกอฮอล์เป็นตัวการทำให้การกินอาหารผิดปกติต่าง หาก



การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบ

     เนื่องจากเชื้อไวรัสตับอักเสบ เป็นเชื้อที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชีวิตความเป็นอยู่ทั่วไปของมนุษย์ เช่น เชื้อสามารถปนเปื้อนอยู่ในแหล่งน้ำ และอาหารของมนุษย์ เชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์จากการดำรงชีวิตตามธรรมชาติ จากแม่สู่ทารก จากการใช้เข็มฉีดยาในผู้ติดยาเสพติด การฝังเข็ม หรือแม้แต่ในวงการเสริมความงาม เช่น การสัก การเจาะหู การใช้ของมีคมร่วมกับผู้อื่นที่มีเชื้อในกระแสเลือด เช่น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ รวมถึงการรับเลือดหรือส่วนประกอบของเลือดจากผู้บริจาค ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ สามารถทำให้เกิดการติดต่อและแพร่เชื้อไวรัสตับอักเสบได้ทั้งสิ้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องป้องกันที่สาเหตุ ตามแนวทางต่อไปนี้

   1. น้ำดื่มควรได้รับการต้มให้ เดือดเป็นเวลา 20 นาที ก่อนใช้บริโภค เชื้อไวรัสตับอักเสบทุกชนิดจะตายที่ความร้อน 100 องศาเซลเซียส

   2. อาหารควรปรุงให้สุกก่อนรับประทาน โดยเฉพาะอาหารที่มาจากแหล่งน้ำทั้งสัตว์และพืช

   3. ผู้ประกอบอาหารต้องรักษาความสะอาดด้วยการล้างมือ หรือสวมถุงมือขณะประกอบอาหาร

   4. แหล่งผลิตอาหารสดต้องได้รับการควบคุม เช่น การสุ่มตัวอย่างเพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ เป็นต้น

   5. สถานพยาบาล หน่วยงาน รวมถึงบ้านอยู่อาศัย ควรมีการควบคุมแหล่งแพร่เชื้อ โดยเฉพาะเลือด น้ำลาย สิ่งขับถ่าย และเครื่องมือเครื่องใช้ของผู้ป่วย สำหรับเข็มฉีดยา เข็มเจาะเลือด โดยต้องทำลายฆ่าเชื้ออย่างถูกวิธี โดยการเผา การนึ่งฆ่าเชื้อด้วยความดัน การอบแห้งที่ 180 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง หรือการต้มเดือด เป็นเวลา 20 นาที

   6. ให้ความรู้แก่ประชาการในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้อยู่อาศัยใกล้แหล่งน้ำหรือในแหล่งที่ระบบสุขอนามัยไม่ดี ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยา หรือมารดาที่ตั้งครรภ์ เป็นต้น เพื่อให้ทราบถึงวิธีการติดเชื้อ

   7. การตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบในเลือดผู้บริจาคทุกยูนิต

   8. การให้ภูมิคุ้มกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบหรือการฉีดวัคซีน ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ 2 ชนิด คือ ไวรัสตับอักเสบเอ และไวรัสตับอักเสบบี สามารถให้ได้ในผู้ที่ยังไม่เคยคิดเชื้อมาก่อน โดยก่อนการให้วัคซีนต้องได้รับการตรวจร่างกายโดยแพทย์ และตรวจเลือดเพื่อดูว่าเคยได้รับเชื้อมาก่อนหรือมีภูมิคุ้มกันอยู่แล้วหรือ ไม่ ถ้ายังไม่เคยติดเชื้อหรือยังไม่มีภูมิคุ้มกันจึงจะให้วัคซีนปัจจุบันมี วัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอและบี ที่ให้ในทารกตั้งแต่แรกเกิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น