มะเร็งปากมดลูก ...ภัยเงียบที่อาจรู้เมื่อสาย

 
มะเร็งปากมดลูก...โรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 ในผู้หญิงไทย โดยปัจจุบันมีสถิติของผู้เสียชีวิตเฉลี่ยสูงถึง 7 คนต่อวัน และเป็นมะเร็งที่ทำให้ผู้หญิงทั่วโลกเสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับ 3

คุณเสี่ยงกับมะเร็งปากมดลูกหรือไม่



  • มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย ต่ำกว่า 18 ปี
  • เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • สามีหรือคู่นอนสำส่อนทางเพศ
  • สตรีที่เคยเป็นโรคติดเชื้อจากการร่วมเพศ เช่น กามโรค
  • สตรีที่เคยเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่บริเวณอวัยวะเพศ เช่น เริม หงอนไก่
  • ผู้ที่ภูมิคุ้มกันต่ำ หรือบกพร่อง เช่น ผู้ที่รับยาหลังการเปลี่ยนอวัยวะหรือผู้ติดเชื้อเอดส์
  • สตรีที่ติดบุหรี่ หรือผู้ใกล้ชิดเป็นผู้ติดบุหรี่

รู้ทัน  เพื่อป้องกันต้วเองจากปากมดลูก


“มะเร็งปากมดลูก”  ไม่ได้เกิดจากกรรมพันธุ์  แต่มีสาเหตุสำคัญมาจากการติดเชื้อไวรัส  ในทศวรรษที่ผ่านมา  แพทย์และนักวิจัยได้พยายามศึกษาสาเหตุของโรคร้ายนี้  ที่ปัจจุบันได้คร่าชีวิตผู้หญิงทั่วโลกปีละกว่า  270,000  คน  และได้ค้นพบว่า  ประมาณ 99.7%  ของผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูก  จะตรวจพบไวรัสชนิดหนึ่งที่เรียกว่า  เอชพีวี  (HAP:  Human  Papillomavirus)  โดยไวรัสชนิดนี้ติดต่อง่ายผ่านสัมพันธ์รักกับคู่ของคุณ  ซึ่งจากสถิติพบว่า  วัยรุ่นช่วงอายุ  18-28  ปี  มีสถิติการติดเชื้อ  HPV  มากที่สุด  ตัวเชื้อไวรัสเองนั้นก็มีหลายสายพันธุ์เหมือนๆ  กับ ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคอื่นๆ  โดยสายพันธุ์ที่อันตรายคือ  HPV  16,18,31และ45  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  HPV  16  และ  18  นั้น  เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งปากมดลูกประมาณ  70%  นอกจากนี้ยังมีเชื้อไวรัสสายพันธุ์อื่นๆ  เช่น  HPV  6  และ  11  ที่เป็นสาเหตุหลัก  90%  ของการเกิดโรคหูดอวัยวะเพศ  (หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า  โรคหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะเพศ)  ซึ่งโรคนี้ถึงแม้จะรักษาได้แต่ก็มักจะมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำๆ  อีกครั้ง

เมื่อพบภาวะผิดปกติ ดังต่อไปนี้ ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์
  • มะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มแรก จะมีอาการ ดังนั้นการป้องกันจึงจำเป็นต้องรับการตรวจตั้งแต่ไม่มีอาการ
  • มีตกขาวออกมาผิดปกติ อาจมีเลือดปนและมักมีกลิ่นเหม็น
  • มีประจำเดือนไม่ปกติ กะปริบกะปรอย หรือบางครั้งออกมาก
  • มีเลือดออกขณะ หรือหลังร่วมเพศ
  • มีเลือดออกหลังวัยหมดประจำเดือน
  • อ่อนเพลีย ซีด เบื่ออาการ น้ำหนักลด
  • มีการบวม ปัสสาวะไม่ออก หรือไหลไม่หยุด
  • ปวดท้องน้อย หรือมีอาการผิดปกติของอวัยวะอื่นเมื่อโรคลุกลามไปถึง


แนวทางป้องกัน
  • ทำการตรวจหามะเร็งปากมดลูกปีละครั้ง หรือเมื่อมีอาการผิดปกติ เช่น ตกขาว หรือมีเลือดออกผิดปกติ
  • สตรีอายุ 30 ปีขึ้นไป ควรรับการตรวจภายใน เพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก
  • สตรีที่รับการคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมน เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด หรือสตรีที่อยู่ในภาวะเสี่ยงควรได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกทุก 6 เดือน
  • ไม่ควรสูบบุหรี่ หรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้สูบบุหรี่
  • ละเว้นการมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย หรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อย
  • ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV Vaccine) เพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูก ซึ่งจะมีประสิทธิภาพสูงสุด หากยังไม่เคยได้รับเชื้อนี้มาก่อน สามารถป้องกันได้ตั้งแต่อายุ 9 ปีขึ้นไป


วิธีการรักษา

     1. การผ่าตัด ถ้ามะเร็งอยู่เฉพาะปากมดลูกอาจจะตัดแค่บริเวณปากมดลูก แต่ถ้ามะเร็งแพร่กระจายมากแพทย์อาจจะตัดมดลูก ท่อรังไข่ รังไข่ รวมทั้งต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง

     2. การให้รังสีรักษาทำได้ 2 วิธี
        - โดยการให้รังสีรักษาจากเครื่องแพทย์จะให้รังสีเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง 5วัน/สัปดาห์เป็นเวลา 5-6 สัปดาห์
        - โดยการฝังแร่อาบรังสีบริเวณปากมดลูกฝังแต่ละครั้งนาน 1-3 วันต้องอยู่โรงพยาบาลใช้เวลารักษา 1-2 สัปดาห์

     3. การให้เคมีบำบัด โดยการให้เคมีเข้าในเลือดเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง

     4. การสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อให้ภูมิคุ้มกันทำลายมะเร็ง ยาที่ใช้บ่อยคือ interferon

ผลข้างเคียงของการรักษา

     1. การผ่าตัด หลังการผ่าตัดมักจะมีอาการปวด เลือดออก ถ้าต้องตัดมดลูกผู้ป่วยอาจจะปัสสาวะและอุจาระลำบากต้องคาสายสวนปัสสาวะไว้ ระยะหนึ่ง ผู้ป่วยควรพักระยะหนึ่งเพื่อให้แผลหาย จะมีเพศสัมพันธ์หลังผ่า 4-8 สัปดาห์ ผู้ป่วยที่ตัดมดลูกยังคงมีอารมณ์ทางเพศปกติแต่อาจมีปัญหาทางจิตใจกังวลว่า ไม่สามารถมีบุตรได้คู่ครองควรที่จะช่วยกันปลอบใจและให้กำลังใจ

     2. การให้รังสีรักษา ระหว่างการให้รังสีรักษาผู้ป่วยจะเพลีย ไม่มีแรง เบื่ออาหาร ผมร่วง ผิวบริเวณที่สัมผัสรังสีจะมีสีน้ำตาล ห้ามทาโลชั่น อาการต่างๆจะหายไปหลังหยุดการรักษา การร่วมเพศอาจจะลำบากเนื่องจากช่องคลอดจะแคบและแห้งต้องใช้ครีมหล่อลื่นช่วย นอกจากนี้อาจมีปัญหาเรื่องปัสสาวะและถ่ายเหลว

     3. การให้เคมีบำบัด จะฆ่าเซลล์ที่แบ่งตัวเร็ว
        - ซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ เกร็ดเลือดต่ำทำให้เหนื่อยง่าย ติดเชื้อง่าย และเลือดออกง่าย
        - ผมร่วง
        - เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน
        - เป็นหมัน

     4. การสร้างภูมิคุ้มกัน ผลข้างเคียงมีไม่มาก มีอาการคล้ายไข้หวัด ปวดตามตัว คลื่นไส้อาเจียน




คำถามที่พบได้บ่อย เกี่ยวกับ...วัคซีน เอชพีวี

การฉีดวัคซีนเอชพีวีมีประสิทธิภาพและ ความปลอดภัยอย่างไรบ้าง

  •      จากการศึกษาในอาสาสมัครสตรีมากกว่า 20,000 รายที่ยังไม่เคยติดเชื้อเอชพีวีสายพันธุ์ 16 และ 18 มาก่อน พบว่าการฉีดวัคซีนเอชพีวีมีประสิทธิภาพสูงมากในการป้องกันการติดเชื้อเอชพี วีสายพันธุ์ 16 และ 18 ที่นำมาทำวัคซีน และสามารถป้องกันความผิดปกติของเซลล์ปากมดลูกที่จะเกิดขึ้นจากเชื้อดังกล่าว ก่อนที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูกได้สูงถึงร้อยละ 100 สำหรับในด้านความปลอดภัยนั้น พบว่าการฉีดวัคซีนเอชพีวีมีความปลอดภัยสูง ไม่พบอาการข้างเคียงที่รุนแรง อาการที่พบได้บ่อยคือ อาการปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีดยาซึ่งไม่รุนแรงและหายไปได้เอง

สตรีที่มีเพศสัมพันธ์แล้วจะฉีด วัคซีนเอชพีวีได้หรือไม่

  •      การฉีดวัคซีนเอชพีวีจะได้ผลดีที่สุดถ้า ปากมดลูกยังไม่มีการติดเชื้อเอชพีวี ซึ่งส่วนใหญ่ติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ ถ้ามีเพศสัมพันธ์แล้วและยังไม่มีการติดเชื้อเอชพีวีสายพันธุ์ 16 และ 18 ก็จะได้รับประโยชน์เต็มที่จากการฉีดวัคซีนเอชพีวี แต่ถ้ามีการติดเชื้อเอชพีวีทั้ง 2 สายพันธุ์ แล้วจะไม่ได้ประโยชน์จากการฉีดวัคซีนเอชพีวี

     อย่างไรก็ตามจากการศึกษาความชุกของการ ติดเชื้อเอชพีวีสายพันธุ์ 16 และ 18 ในสตรีอายุ 14-72 ปี จำนวนมากกว่า 20,000 ราย พบว่า สตรีที่ติดเชื้อเอชพีวีสายพันธุ์ 16 และ 18 ที่ปากมดลูกมีน้อยกว่า 1% ดังนั้นถึงแม้ว่าจะเป็นผู้หญิงที่แต่งงานหรือมีเพศสัมพันธ์แล้ว ส่วนใหญ่ก็ยังได้รับประโยชน์จากการฉีดวัคซีนเอชพีวีในการป้องกันการติดเชื้อ เอชพีวี สายพันธุ์ 16 และ/หรือ 18

ทำไมวัคซีนเอชพีวี ไม่สามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ร้อยเปอร์เซ็นต์

  •      วัคซีนเอชพีวีที่มีใช้อยู่สามารถ ป้องกันการติดเชื้อและรอยโรคก่อนมะเร็งที่เกิดจากเชื้อเอชพีวีมสายพันธุ์ 16 และ 18 ได้สูงถึงร้อยละ 100 แต่เชื้อดังกล่าวเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกเพียงร้อยละ 70 จึงมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกได้จากเชื้อเอชพีวีที่เหลืออีกร้อยละ 30 ดังนั้นหลังจากฉีดวัคซีนเอชพีวีแล้วจึงจำเป็นต้องมารับการตรวจคัดกรองมะเร็ง ปากมดลูกด้วยแพบสเมียร์อยู่

จำเป็นต้องวัดภูมิคุ้มกัน ภายหลังจากการฉีดวัคซีนหรือไม่ ?

  •    ไม่จำเป็น เพราะจากการศึกษาอาสาสมัครประมาณ 1,000 คน ที่ได้รับวัคซีนครบ 3 ครั้ง พบว่ามีการสร้างภูมิคุ้มกันทุกราย อีกทั้งในขณะนี้ยังไม่มีชุดตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อเอชพีวีที่ สามารถทำได้ในโรงพยาบาลทั่วไป

จะทราบได้อย่างไรว่าร่างกายมีการติด เชื้อเอชพีวีแล้วหรือยัง

  •     สตรีที่ติดเชื้อเอชพีวี จะไม่มีอาการผิดปกติไม่มีไข้หรือตกขาว การติดเชื้อส่วนใหญ่หายได้เอง จะมีเพียงส่วนน้อยที่เป็นการติดเชื้อแบบฝังแน่นเรื้อรัง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินโรคมะเร็งปากมดลูก ขณะนี้ในทางการแพทย์ยังไม่ทราบว่า สตรีที่ติดเชื้อรายใดจะดำเนินโรคเป็นมะเร็งปากมดลูกในอนาคต ดังนั้นสตรีที่มีเพศสัมพันธ์แล้วทุกรายจึงควรได้รับการป้องกันมะเร็งปาก มดลูก สำหรับการตรวจหาเชื้อเอชพีวีก่อนฉีดวัคซีน นั้นไม่มีความจำเป็นเพราะการตรวจไม่สามารถระบุได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าการติด เชื้อนั้นจะเป็นแบบฝังแน่นเรื้อรังที่จะกลายเป็นมะเร็งปากมดลูกได้

จะฉีดวัคซีนก่อนแต่งงาน หากฉีดวัคซีนเอชพีวี แล้วจะมีผลในการป้องกันการติดเชื้อเอชพีวีทันหรือไม่ หรือจะต้องรอฉีดให้ครบ 3 เข็มก่อน

  •      หากจะมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่ฉีดวัคซีน เอชพีวี ควรใช้ถุงยางนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชพีวีและป้องกันการตั้งครรภ์ ในช่วงที่ฉีดวัคซีนเอชพีวี ไม่ควรตั้งครรภ์ ควรรอฉีดให้ครบ 3 เข็มไปแล้วอย่างน้อย 1 เดือน

การฉีดวัคซีนเอชพีวี จะช่วยป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้นานเท่าไร

  •      จากข้อมูลที่มีอยู่จนถึง ปัจจุบันพบว่า การฉีดวัคซีนเอชพีวีทำให้ร่างกายมีระดับภูมิคุ้มกันสูงมาก สามารถป้องกันการติดเชื้อเอชพีวีและรอยโรคก่อนมะเร็งปากมดลูกได้นานอย่าง น้อย 5 ปีครึ่ง ระดับภูมิคุ้มกันที่มีอยู่สูงกว่าระดับภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อเอชพีวีตาม ธรรมชาติมาก ดังนั้นหลังจากฉีดวัคซีนครบ 3 เข็ม (ในช่วงเวลา 6 เดือน) จึงไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นซ้ำที่ 5 ปี ระดับภูมิคุ้มกันจะคงอยู่นานเท่าไรนั้นจะต้องติดตามดูต่อไป

“สิ่งที่ควรทราบคือ การติดเชื้อเอชพีวีตามธรรมชาตินั้น ไม่สามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้ม กันได้ทุกคน และระดับภูมิคุ้มกันที่สร้างขึ้นก็ต่ำกว่าการฉีดวัคซีนเอชพีวีมาก อาจจะไม่เพียงพอสำหรับการป้องกันการติดเชื้อเอชพีวีในอนาคต”

3 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ25 เมษายน 2553 เวลา 17:36

    น่ากลัวจังเลย
    ต้องหาเวลาไปตรวจบ้างแล้ว
    ......
    ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีดีจ้า

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ2 สิงหาคม 2553 เวลา 21:36

    ไปหาหมอ หมอแนะนำให้ฉีดวัคซีน Cervarix ค่ะ เพราะมันป้องกันมะเร็งปากมดลูก และยังป้องกันเชื้ออีกตัวที่น่ากลัวค่ะ ชื่อว่าอะดิโน ตัวนี้อยู่ลึกถึงคอมดลูก ทำให้การตรวจคัดกรองไม่ค่อยเจอ รอดยาก เป็นได้แม่อายุยังน้อยค่ะ

    ตอบลบ
  3. อ่านข่าวเจอค่ะ พนักงานหยงของ SCG เค้าให้ฉีดวัคซีนป้องกัีนมะเร็งปากมดลูกของ cervarix ดีจังที่มีสวัสดีการแบบนี้ เล็งเห็นถึงอันตรายของมะเร็งปากมดลูก

    ตอบลบ