สารให้ความหวานแทนน้ำตาล

     สารให้ความหวาน แทนน้ำตาล เป็นสารเคมีที่ใช้กันมากอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งให้รสหวานแต่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการและไม่ให้พลังงาน ใช้แทนที่น้ำตาลซึ่งผู้ป่วยโรคเบาหวานใช้ไม่ได้ จึงเป็นสารที่มีคุณค่าทางการแพทย์ นอกจากนั้นยังใช้เป็นเครื่องปรุงรสอาหารสำหรับผู้เป็น โรคอ้วนและใช้ใน อุตสาหกรรมผลิตอาหาร เพื่อลดต้นทุนการผลิตที่นิยมใช้กันมาก
ได้แก่

    1. ซัยคลาเมต (Cyclamate) เป็นสารให้รสหวานมีความหวานประมาณ 30 เท่าของน้ำตาลซูโครส ซึ่งปัจจุบันได้ห้ามใช้แล้ว ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2522) เนื่องจากพบว่าสามารถทำให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลอง

   2. ซัคคาริน (Saccharin) เป็นสารเคมีที่ใช้กันแพร่หลายมีความหวานเป็น 300 - 400 เท่าของน้ำตาลซูโครส ซัคคารินถูกทำลายโดยความร้อนจึงไม่สามารถนำมาใช้ในการประกอบอาหารที่ใช้ความ ร้อนสูงๆ ถ้าหากรับประทานซัคคารินในขนาด 5 - 25 กรัมต่อวันเป็นเวลาหลายๆ วัน หรือรับประทานครั้งเดียว 100 กรัม จะทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ปวดท้อง ซึมและชักได้ บางคนอาจแพ้ซัคคารินได้แม้กินในจำนวนน้อยอาการแพ้จะมีอาเจียน ท้องเดินและผิวหนังเป็นผื่นแดง

     อาหารที่นิยมใส่ซัคคาริน ได้แก่ ผลไม้ดองและผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ไอศกรีม และขนมหวานต่างๆ ถึงจะยังไม่พบหลักฐานที่แสดงว่าซัคคารินมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งหรือ เป็นอันตรายต่อสุขภาพแต่การใช้ก็ควรอยู่ในวงจำกัด เช่น สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่บริโภคน้ำตาลมากเกินไปไม่ได้ ดังนั้นในปัจจุบันทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจึงอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับ อาหารที่มีวัตถุประสงค์พิเศษเท่านั้น


   3. สตีวิโอไซด์ (Stevioside) เป็นสารที่ให้รสหวานแทนน้ำตาลสกัดได้จากต้นหญ้าหวาน มีชื่อทางพฤษศาสตร์ว่า Stevia rebaudiana Bertoni มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว ดูดความชื่นได้ดี มีความหวานประมาณ 280 - 300 เท่าของน้ำตาลทรายใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร

     มีข้อดีเหนือกว่าน้ำตาล หลายอย่างเช่น
  1. ไม่ทำให้อาหารเกิดสีน้ำตาลเมื่อผ่านความร้อนสูงๆ 
  2. ไม่ถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ เพราะฉะนั้นเมื่อใช้กับอาหารจึงไม่ทำให้เกิดบูด เน่าและประการสำคัญที่สุดคือ ไม่ถูกดูดซึมในระบบการย่อย
  3. ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการให้พลังงานต่ำ (ประมาณร้อยละ 0 - 3 แคลอรี่) 

     ฉะนั้นจึงเหมาะที่จะใช้เป็นสารให้ความหวานกับอาหาร สำหรับคนเป็นโรคเบาหวาน โรคอ้วน และโรคหัวใจ นอกจากนั้น สตีวิโอไซด์ ยังมีคุณภาพทนต่อความร้อนและกรด จึงนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารค่อนข้างแพร่หลาย เช่น ทำหมากฝรั่ง , ลูกกวาด เครื่องดื่ม ไอศกรีม แยมเยลลี่ มาร์มาเลด ไม่เพียงแต่ใช้กับอาหารเท่านั้น ยังได้นำสตีวิโอไซด์ไปใช้แทนน้ำตาลในการผลิตยาสีฟันและผสมสนบุหรี่อีกด้วย จากการศึกษาถึงความปลอดภัยของสตีวิโอไซด์ที่ทำกันมาเป็นเวลานานจนถึง ปัจจุบันปรากฏว่ามีแนวโน้มทางด้านความปลอดภัยได้ดีพอสมควร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น