ภาวะซึมเศร้า

     อาการซึมๆ เศร้าๆ ท้อแท้ เบื่อหน่ายซังกะตายกับชีวิต เป็นอาการของโรคทางจิตใจอย่างหนึ่งที่อาจเกิด ขึ้นได้ ทั้งกับหญิงและชาย แต่อย่างไรก็ดี อาการดังกล่าวมักจะเกิดกับผู้หญิงบ่อยกว่าผู้ชาย ซึ่งอาการดังกล่าวนั้น สามารถจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายได้อย่างมากมาย เป็นต้นว่า นอนไม่หลับหรือหลับๆ ตื่นๆ คิดเรื่องต่างๆฟุ้งซ่านตลอดเวลา สมรรถภาพการทำงานถดถอย หมดความสนใจในเรื่องทางเพศ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ท้องผูก ปวดศีรษะ ปวดหลัง และโรคกระเพาะ ฯลฯ หากยิ่งปล่อยตัวให้ตกอยู่ในภาวะดังกล่าวนานเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งมีความคิดในแง่ลบกับตัวเอง รวมทั้งมองโลกในแง่ร้าย บางคนอาจถึงขั้นคิดฆ่าตัวตายเลยก็มี

      สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะซึม เศร้าในผู้หญิง

     สิ่งที่มีผลทำให้ ผู้หญิงเกิดอาการเศร้าซึมได้มากกว่าชายนั้นมีหลายสาเหตุ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนเพศ อันได้แก่ ฮอร์โมนแอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน ซึ่งจะสามารถออกฤทธิ์กระตุ้นเนื้อเยื่อสมอง ทำให้ผู้หญิงมีอาการซึมเศร้าในช่วงก่อนมีประจำเดือน หรือในช่วงวัยที่หมดประจำเดือนไปแล้ว นอกจากนั้น พันธุกรรม ที่ได้รับถ่ายทอด มากจากบรรพบุรุษก็อาจส่งผลให้เกิดอาการดังกล่าวได้ เมื่อมีเหตุการณ์ หรือบางสิ่งบางอย่างมากระตุ้น และหากพื้นฐานทางจิตใจ ตั้งแต่สมัยเด็กๆ มีความเปราะบาง หรือมีปมดอยบางอย่างอยู่ ก็จะยิ่งทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าขึ้นได้อย่างง่ายดาย


       วิธีควบคุม และจัดการกับภาวะซึมเศร้า

       โดยปกติ เมื่อภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นกับผู้ใดแล้ว ก็มักจะเกิดขึ้นซ้ำๆ กับบุคคลผู้นั้นได้อีก ฉะนั้นเมื่อรู้สึกว่าตัวเองกำลังตกอยู่ในภาวะดังกล่าว ก็น่าที่จะรีบจัดการควบคุมไว้เสียก่อนที่อาการนั้นจะลุกกลามมาก จนกระทั่งถึงขั้นทำลายชีวิตของคุณ ซึ่งวิธีที่จะจัดการกับอาการดังกล่าวมีดังนี้

       1. การเขียนบันทึกประจำวัน ซึ่งนอกจากจะช่วยทำให้คุณสามารถระบายความรู้สึกต่างๆ ต่อเหตุการณ์ทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้นกับคุณได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังช่วยให้คุณได้สำรวจตัวเองอยู่เสมอว่ากำลังอยู่ในอารมณ์แบบใด และเมื่อใดที่คุณได้ย้อน กลับมาอ่านบันทึกนั้นดูอีกครั้งก็อาจช่วยให้คุณ อารมณ์ดีขึ้นบ้างก็เป็นได้

       2. ออกกำลังกาย ปกติคนที่ประสบกับภาวะดังกล่าวมักไม่มีอารมณ์อยากทำอะไร แต่ถ้าหากได้ลองออกกำลังกายเพียงวันละ 15-20 นาทีเท่านั้น สมองก็จะหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินออกมา ซึ่งจะช่วยให้ร่ายกายสบาย และรู้สึกมีความสุข

       3. ให้รางวัลกับตัวเอง เมื่อคุณสามารถทำอะไรได้สำเร็จ แม้จะเป็นเพียงเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แต่ถึงกระนั้นคุณก็สามารถจะให้รางวัลกับตัวเองได้เสมอ

       4. ไม่ปลีกตัวออกจากสังคม ทั้งนี้เพราะการที่ได้พบปะพูดคุยกับเพื่อนๆ หรือการไปเที่ยว ดูหนังฟังเพลง จะช่วยแบ่งเบาความเครียด และช่วยให้คุณมีชีวิตชีวาไม่รู้สึกโดดเดี่ยว

       5. ไม่หันไปพึ่งสิ่งเสพย์ติด ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่ เหล้า หรือยานอนหลัง ที่ล้วนแล้วแต่จะยิ่งทำให้สุขภาพทรุดโทรมลง

       6. ปรึกษาและขอคำแนะนำจากแพทย์ เพราะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะสามารถวินิจฉัยอาการของคุณได้ดีที่สุด ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจตนเอง และแก้ไขปัญหาภายในจิตใจของตนเองได้ดีขึ้น

       7. แพทย์อาจให้ยาระงับอาการซึมเศร้า หรือฮอร์โมน แต่ถ้าอาการเป็น อาจต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลจนกว่าอาการจะเริ่มดี ขึ้น และอาจให้สมาคมกับเพื่อนๆ ที่มีปัญหาคล้ายคลึงกัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยหายเร็วยิ่งขึ้น


อ้างอิง http://zogzagth.tripod.com/health/health1.htm

1 ความคิดเห็น:

  1. โรคซึมเศร้า น่ากลัว ตรงที่คนเป็นส่วนใหญ่มักไม่รู้ัตัว หลายคนปิดฉากชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย

    ตอบลบ